วิธีเลือกซื้อลู่วิ่งไฟฟ้า
วิธีเลือกซื้อลู่วิ่งไฟฟ้า
การวิ่งหรือการเดิน เป็นการออกกำลังกายที่เป็นที่นิยมสำหรับทุกเพศทุกวัย เพราะช่วยควบคุมน้ำหนักตัว ช่วยให้ปอดและหัวใจแข็งแรง ช่วยในการไหลเวียนของโลหิต ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำจะทำให้รูปร่างและผิวพรรณดี มีกล้ามเนื้อแข็งแรงกระชับสวยงาม ประโยชน์เช่นนี้ ทำให้หลายคนหันมาสนใจการวิ่งมากขึ้น
การซื้อ ลู่วิ่งไฟฟ้า สำหรับใช้ภายในบ้านดีๆ สักเครื่อง จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจเพราะไม่ต้องกังวลเรื่องสภาพอากาศหรือการเดินทางไปออกกำลังกายนอกบ้าน มาดูกันว่าถ้าจะซื้อลู่วิ่งไฟฟ้า ควรพิจารณาจากอะไรบ้าง
การเลือกซื้อลู่วิ่งไฟฟ้า มีข้อแนะนำเบื้องต้นในการพิจารณาดังนี้
ขนาดของมอเตอร์
ลู่วิ่งไฟฟ้านั้นมอเตอร์จะเป็นสเปคหลักในการพิจารณา (น้ำหนักตัวน้อยสามารถเลือกมอเตอร์ที่ใหญ่กว่าได้ทุกรุ่น แต่ถ้าน้ำหนักตัวเยอะควรเลือกมอเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ เพื่อให้ใช้งานได้เหมาะสม
การเลือกมอเตอร์เทียบกับน้ำหนักผู้ใช้งาน
- มอเตอร์กำลัง 1.0 แรงม้าเริ่มต้น เหมาะกับผู้ใช้ที่มีน้ำหนัก 45-55 กิโลกรัม
- มอเตอร์กำลัง 1.5 แรงม้าเริ่มต้น เหมาะกับผู้ใช้ที่มีน้ำหนัก 55-65 กิโลกรัม
- มอเตอร์กำลัง 2.0 แรงม้าเริ่มต้น เหมาะกับผู้ใช้ที่มีน้ำหนัก 65-80 กิโลกรัม
- มอเตอร์กำลัง 2.5 แรงม้าเริ่มต้น เหมาะกับผู้ใช้ที่มีน้ำหนัก 70-90 กิโลกรัม
- น้ำหนักผู้ใช้ 100 กิโลกรัมขึ้นไป แนะนำให้ใช้มอเตอร์ ขนาด 3 แรงม้า ขึ้นไป
การเลือกมอเตอรเทียบกับการใช้งาน
- มอเตอร์ 1 แรงม้า เหมาะสำหรับใช้เดิน – เดินเร็ว
- มอเตอร์ 2-3 แรงม้า เหมาะสำหรับใช้วิ่งในบ้าน
- มอเตอร์ 4-6 แรงม้า เหมาะสำหรับใช้วิ่งในฟิตเนส
หมายเหตุ มอเตอร์กำลังยิ่งมากจะทำให้เปลืองไฟมากขึ้น ซึ่งอาจเกินความจำเป็นสำหรับการใช้งาน
ขนาดของสายพาน หรือ ขนาดพื้นที่ในการวิ่ง
ลู่วิ่งที่ขายในท้องตลาดโดยทั่วไปจะมีความกว้างของสายพานเริ่มต้นที่ 40 ซม. ยิ่งพื้นที่สายพานกว้างเท่าไหร่ ผู้ใช้จะรู้สึกวิ่งได้สบายเท่านั้น
- ความกว้างสายพาน 40- 45 ซม. เหมาะสำหรับการเดิน
- ความกว้างสายพาน 45 ซม. ขึ้นไป เหมาะสำหรับการวิ่ง
- ความยาวสายพาน 100 ซม. ขึ้นไป เหมาะสำหรับการเดิน – เดินเร็ว
- ความยาวสายพาน 120 ซม. ขึ้นไป เหมาะสำหรับการวิ่ง
- ความยาวสายพาน 135 ซม. ขึ้นไป เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่สูง 180 ซม. ขึ้นไป หรือ ผู้ที่มีช่วงก้าวยาว
สเปคความเร็วสูงสุดของลู่วิ่งไฟฟ้า เลือกตามการใช้งาน
- เดินเร็ว จะใช้ความเร็วที่ 0-5 กิโลเมตร / ชั่วโมง
- วิ่งเหยาะๆ จะใช้ความเร็วที่ 6-10 กิโลเมตร / ชั่วโมง
- วิ่งเร็ว จะใช้ความเร็วที่ 10 -15 กิโลเมตร / ชั่วโมง
- วิ่งแข่ง จะใช้ความเร็วที่ 16-20 กิโลเมตร / ชั่วโมง
หมายเหตุ : บางท่านต้องการเดินเร็วเป็นหลัก ก็ไม่จำเป็นต้องเลือกรุ่นที่มีสเปคความเร็วสูง แค่เลือกให้รองรับความเร็วที่เหมาะสมในการเดินได้ก็พอ กรณีใช้เพื่อวิ่งออกกำลังกายโดยทั่วไป เลือกลู่วิ่งที่ทำความเร็วสูงสุดได้ 14-15 กิโลเมตร/ชั่วโมง ก็เพียงพอแล้ว
การปรับระดับความชัน
ความชันของลู่วิ่ง จะเป็นฟังก์ชั่นที่ช่วยเพิ่มการเผาผลาญแคลอรีของผู้ใช้ เปรียบสเมือนการวิ่งขึ้นเนิน หรือใช้ในกรณีที่ต้องการกระชับต้นขาและสะโพก หรือท่านที่ต้องการฝึกความแข็งแรงของต้นขาเป็นพิเศษ เครื่องที่มีการปรับ Auto จะช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้งานได้มากขึ้น ลู่วิ่งไฟฟ้าในท้องตลาด จะมีการปรับความชั่น 2 แบบ ให้เลือกใช้งาน
- แบบอัตโนมัติ (Auto) ผู้ใช้จะสามารถเลือกปรับความชันได้ที่แผงคอนโซลขณะวิ่งได้เลย
- แบบใส่สลัก (Manual) ผู้ใช้ต้องลงจากเครื่องเพื่อใส่สลักปรับระดับความชันเอง
ระบบรองรับแรงกระแทก
ระบบรองรับแรงกระแทกของลู่วิ่งไฟฟ้า
ลู่วิ่งที่ดี ควรจะมีระบบรองรับแรงกระแทก อาจเป็นการกระจายแรงกระแทกบนพื้นลู่วิ่ง หรือออกแบบโดยใช้ โช้ค / รังผึ้ง เพื่อรองรับแรงกระแทกขณะวิ่ง เพื่อช่วยถนอมข้อเข่า
แผงคอนโซล มีหน้าจอบอกรายละเอียด
ตัวอย่างแผงหน้าจอลู่วิ่งไฟฟ้า
ลู่วิ่งในท้องตลาดจะมีฟังก์ชั่นมาตรฐาน โดยฟังก์ชั่นหลักที่ควรมี ได้แก่
- ความเร็ว (Speed)
- ความชัน (Incline)
- การเผาผลาญแคลอรี่ (Calories)
- ระยะทางที่วิ่ง (Distance)
- อัตราการเต้นของหัวใจ (Heart Rate) / ชีพจร (Pulse)
- เวลาในการวิ่ง (Time)
- ปุ่มหยุดฉุกเฉิน (Safety Key)
บางรุ่นจะมีฟังก์ชั่น โปรแกรมวิ่งอัตโนมัติ หมายถึงเครื่องจะเพิ่มความเร็ว หรือ ความชัน ให้อัตโนมัติ โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องควบคุมที่ปุ่มบนแผงคอนโซล เพิ่มความเพลิดเพลินในการวิ่งให้กับผู้ใช้ได้
การรับประกันและบริการหลังการขาย
ลู่วิ่งไฟฟ้า ควรมีการรับประกันมอเตอร์ และโครงสร้างหลักจากบริษัทที่มีการจดทะเบียนในกระทรวงพาณิชย์ เพื่อเป็นการยืนยันการมีตัวตนของร้านค้า บ่อยครั้งที่ผู้ซื้อ เลือกซื้อลู่วิ่งที่มีระยะการรับประกันหลายปี จากผู้ขายที่ลงขายใน e-market place ซึ่งถ้าสินค้ามีปัญหาและยังอยู่ในระยะประกัน ก็ไม่สามารถตามหาความรับผิดชอบได้